วันพฤหัสบดีที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การขยายพันธุ์ยาง


     

           ยางพาราสามารถทำการขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ใช้วิธีการติดตาเขียว ติดตาสีน้ำตาล เป็นต้น เฉพาะการขยายด้วยเมล็ด ปัจจุบันประเทศไทยเราไม่นิยมการขยายพันธุ์กันด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยไม่มีสวนเก็บเมล็ดโดยตรงประการหนึ่ง และอีกประการคือเมล็ดยางที่นำไปปลูกมีการกลายพันธุ์มาก แต่การใช้เมล็ดขยายพันธุ์ มักจะนำไปใช้เพาะต้นกล้าเพื่อใช้ทำเป็นต้นตอสำหรับติดตาต่อไป
           ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา จะแบ่งออกเป็นการติดตาเขียว และการติดตาสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นิยมติดตาเขียวมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการขยายพันธุ์วิธีดังกล่าวมีวิธีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ           
ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา จะแบ่งออกเป็นการติดตาเขียว และการติดตาสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นิยมติดตาเขียวมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการขยายพันธุ์วิธีดังกล่าวมีวิธีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ
 

การสร้างแปลงกล้ายาง           วัสดุที่จะใช้ปลูกทำแปลงกล้ายาง อาจใช้วัตถุปลูกได้ 3 ชนิด คือ เมล็ดสด เมล็ดงอก และต้นกล้า 2 ใบ ในการศึกษาควรเลือกใช้วัสดุปลูกทำแปลงกล้ายางนั้น การใช้เมล็ดสดจะดีที่สุดเนื่องจากต้นกล้ายางที่ได้โตเร็วและแข็งแรงมีระบบรากดีเป็นการประหยัดงานและเวลา ส่วนการปลูกด้วยต้นกล้า 2 ใบ นั้นปรากฏว่าต้นกล้าจะตาย เป็นจำนวนมาก และมากกว่าปลูกด้วยเมล็ดถึง 2 เท่า ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน กล้ายาง 2 ใบจึงควรใช้กรณีที่หาเมล็ดไม่ได้เท่านั้น สำหรับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการสร้างแปลงและวิธีการปลูกตลอดจนการดูแลรักษามีขั้นตอนดังต่อไปนี้           
1. การเลือกพื้นที่ ควรเลือกสภาพพื้นที่ราบ ดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำและการคมนาคมสะดวก           
2. การเตรียมดิน ควรไถพลิกดิน 2 ครั้ง หลังจากนั้นทำการไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง แล้วแต่ความเหมาะสมเพื่อให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอ และในขณะเดียวกันควรเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมดในการไถพรวนครั้งสุดท้าย ควรหว่านปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 100 กิโลกรัม และแมกนีเซียมไลปัสโตน 40 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ ทั้งนี้เนื่องจากดินในประเทศไทย ถ้าปลูกกล้ายางหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำกันในที่เดียวกัน กล้ายางมักจะแสดงอาการขาดธาตุแมกนีเซียม ส่วนแผ่นใบตรงกลางระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดเหลืองหรือขาว โดยจะแสดงอาการหลังจากยางงอกแล้วประมาณ 2-3 เดือน ฉะนั้นการใส่แมกนีเซียมไลมัสโตน จึงมีความจำเป็นมาก โดยเฉพาะในแปลงกล่าที่เกิดอาการขาดธาตุแมกนีเซียมแล้วก่อนจะทำใหม่ต้องใส่แมกนีเซียมก่อนทุกครั้ง          
3. การวางแผนผังแปลงกล้า แปลงกล้ายางแต่ละแปลงย่อยไม่ควรมีพื้นที่เกิน 1 ไร่ หากเป็นการให้น้ำแบบระบบสปริงเกลอร์ควรจัดขนาดแปลงเข้ากับระบบน้ำ และรอบแปลงควรวางแนวขุดคูระบายน้ำ และหากเป็นพื้นที่ลาด ควรวางแถวปลูกขวางแนวลาดชัน และควรยกร่องปลูกเป็นแถวคู่ เพื่อป้องกันน้ำชะเมล็ด          
4. วิธีการปลูก มีอยู่ 3 วิธีคือ                  การปลูกด้วยเมล็ดสด เริ่มตั้งแต่การวางแนวปลูกโดยปักไม้ชะมบไว้ที่หัวและท้ายแปลง ระยะ 30x60 เซนติเมตร เป็นแนวยาวแล้วขึงเชือกระหว่างไม้ชะมบกับหัวท้ายแปลง ซึ่งจะเป็นแนวสำหรับเรียงเมล็ดสด จากนั้นใช้จอบลากเป็นร่องลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ตามแนวเชือกแล้วนำเมล็ดสดวางเรียงจำนวนเมล็ดที่เรียงขึ้นอยู่กับความงอกของเมล็ด ถ้ามีเปอรืเซ็นต์ความงอกสูงให้เรียงเมล็ดห่างปกติในช่วงระยะ 1 เมตร จะวางเรียงประมาณ 18-24 เมล็ด ในการเรียงให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลงแล้วกลบดิน ซึ่งจะใช้เมล็ดประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่                  
การปลูกด้วยเมล็ดงอก เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดยางในแปลงเพาะเมล็ด โดยยกร่องกว่าง 1 เมตร 20 เซนติเมตร ความยาวตามต้องการใช้ทรายหรือขี้เลื่อยเก่า ๆ กลบบนแปลงเพาะแล้วเกลี่ยให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นอีก 1 อาทิตย์ก็จะงอก เก็บเมล็ดที่งอกไปปลูกได้ทุกวัน (ส่วนเมล็ดที่งอกหลังจาก 15 วัน คัดทิ้งหมดเพราะจะได้ต้นกล้ายางที่ไม่แข็งแรง) วิธีการปลูกโดยวางแนวปักไม้ชะมบที่หัวและท้ายแปลงที่ระยะ 30x60 เซนติเมตร แล้วขึงเชือกทำเครื่องหมายระยะต้นทุกระยะ 25 เซนติเมตร นำเมล็ดมาปลูกโดยใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมเจาะดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ตรงตำแหน่งหลุมปลูก แล้ววางเมล็ดงอกให้ทางด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง หรือทางปลายรากลงแล้วกลบดินพอมิด                  
การปลูกด้วยกล้ายาง 2 ใบ ขั้นตอนการปลูก โดยจัดวางแนวปักไม้ชะบบไว้ที่หัวแถวที่ระยะ 30x60 เซนติเมตร แล้วขึงเชือกซึ่งได้ทำเครื่องหมายระยะต้นไว้แล้วทุกระยะ 25 เซนติเมตร จากนั้นใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมหรือเหล็กปลายแหลมเจาะดินให้เป็นหลุมพอดีกับความยาวของราก นำต้นกล้ายาง 2 ใบ เลือกต้นที่แข็งแรงใบแก่ และรากไม่คดงอ ตัดรากให้เหลือประมาณ 20 เซนติเมตร และตัดใบออกหมดเพื่อลดการคายน้ำหลังจากที่ปลูกแล้วต้องกดดินรอบโคนต้นให้แน่น            
5. การกำจัดวัชพืช                  ครั้งที่ 1 กำจัดวัชพืชก่อนงอก โดยทำการพ่นสารเคมีก่อนและหลังการปลูกโดยใช้ไลนูรอนอัตรา 250 กรัมต่อน้ำ 80 ลิตร หรือไดยูรอน อัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่                 
 ครั้งที่ 2 หลังปลูก 6-8 สัปดาห์ ถากวัชพืชออกให้หมด พ่นตามด้วยไดยูรอนอัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่                 
 ครั้งที่ 3 เมื่อต้นยางอายุ 4 เดือน ถากวัชพืชออกให้หมดพ่นตามด้วยไดยูรอนอัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่                  
ครั้งที่ 4 ต้นฤดูฝนในระยะติดตา ใช้พาราควัท อัตรา 6,000 กรัมต่อน้ำ 50-60 ลิตรต่อไร่             
6. การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นกล้ายางตั้งตัวได้ควรใส่ปู่ยเป็นระยะเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์ติดตาได้เร็ว ปุ๋ยที่ใช้สำหรับต้นกล้ายางควรเป็นดังนี้                   
สำหรับดินร่วนปนทราย ใช้ปุ๋ยสูตร 3(16-8-14) สำหรับดินร่วนปนเหนียวใช้ปุ๋ยสูตร 1(18-10-6) ระยะเวลาในการใส่โดยแบ่งใส่เป็น 4 ครั้ง คือเมื่อยางอายุ 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน และก่อนติดตา 1 เดือน โดยใช้อัตรา 36 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 15 กรัมต่อช่วงระยะ 1 เมตร ในแถวคู่ ส่วนวิธีการใส่ การใส่ใน 2 ครั้งแรกโดยวิธีหว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร ในระหว่างแถวคู่ แล้วคราดกลบเพื่อให้ปุ๋ยคลุกเข้ากับดิน และการใส่ในครั้งต่อไปควรใช้วิธีการหว่านให้ทั่วแปลงโดยระวังไม่ให้ถูกใบอ่อนกล้ายาง 
การสร้างแปลงกิ่งตา   ปัจจุบันนิยมการทำแปลงผลิตกิ่งตาเขียวมากกว่าสีน้ำตาล เพราะประหยัดต้นทุน และทำได้สะดวกรวดเร็ว การเลี้ยงกิ่งตาสีเขียวจะใช้วิธีเลี้ยงกระโดงประมาณ 3-4 ฉัตร ตัดยอดกระโดงให้แตกกิ่งแขนงตาเขียวออกมาประมาณ 1 ฉัตร ก็สามารถตัดไปใช้ติดตาได้ ถ้ายังไม่ต้องการใช้ตาอาจจะปล่อยไว้เป็น 2 ฉัตรก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 3 ฉัตร เพราะจะทำให้ลอกแผ่นตาได้ยาก อีกวิธีหนึ่งคือการตัดกระโดงตาเขียวและเขียวปนน้ำตาลไปใช้ได้เลย แต่จะได้ตาน้อยจะต้องใช้เวลาเสียบกิ่งนานกว่า              
ต้นกิ่งตาที่สมบูรณ์ตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป จะเลี้ยงได้ 4 กระโดง ๆ ละ 4-5 กิ่ง และจะได้กิ่งตาเขียวต้นละ 16-20 กิ่ง สามารถเลี้ยงได้ 3 รอบต่อไป ปีหนึ่ง ๆ จะได้กิ่งตาเขียวประมาณ 48-60 กิ่งต่อต้น และในกิ่งตาเขียวที่ยาวประมาณ 1 ฟุต ท่อนหนึ่ง ๆ จะได้ตาประมาณ 2-3 ตา สำหรับวิธีกากรปฏิบัติการปลูกสร้างแปลงกิ่งตายางควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้              
1. การเลือกพื้นที่ ควรเป็นพื้นที่ราบ ดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์ดี ระบายน้ำได้ดีอยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่มีไม้ยืนต้นอื่นปะปน             
 2. การเตรียมพื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูกจะต้องทำการไถพรวน และใส่ปุ๋ยโดยจะปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้ายาง จากนั้นวางผังแปลงโดยกำหนดพันธุ์ยางที่จะปลูกปริมาณของแต่ละพันธุ์โดยแบ่งแปลงกิ่งตาออกเป็นแปลงย่อย เว้นระยะห่างให้เห็นชัดเจนเช่น ระยะปลูกในแต่ละแปลง 1x2 เมตร ระยะห่างระหว่างแปลงควรเป็น 3 เมตร เป็นต้น             
 3. ระยะปลูก การปลูกสร้างแปลงกิ่งตายางเพื่อผลิตกิ่งตาเขียวใช้ระยะปลูกดังนี้1 x 2 เมตร = 800 ต้นต่อไร่                    1.25 x 1.50 เมตร = 853 ต้นต่อไร่      
1.50 x 1.50 เมตร = 711 ต้นต่อไร่          1.25 x 1.25 เมตร = 1,024 ต้นต่อไร่                 
ระยะปลูกที่นิยมกันมากคือ 1x2 เมตร เพราะได้กิ่งตาที่สมบูรณ์ และสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา ส่วนระยะ 1.25x1.25 เมตร เคยนิยมกัน ปัจจุบันเลิกไปเพราะการเลี้ยงกิ่งตาเขียวจะเบียดกันแน่นมากเมื่อกิ่งตาเขียวได้ 2 ฉัตรขึ้นไป กิ่งตาที่อยู่ด้านล่างจะลอกไม่ค่อยออก ส่วนการผลิตกิ่งตาสีน้ำตาลหรือกิ่งกระโดงเขียวปนน้ำตาลใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร 1,600 ต้นต่อไร่ สำหรับการปลูกหลังจากปักไม้ชะมบกหนดระยะปลูกแล้วก็จะขุดหลุมข้างไม้ชะมบด้านใดด้านหนึ่ง เมื่อปลูกจะได้ต้นยางเป็นแถวเดียวกัน ซึ่งมีวิธีการปลูกอยู่ 3 วิธีคือ ปลูกเมล็ดในหลุมแล้วติดตาในแปลง ปลูกด้วยต้นตอตายางและปลูกด้วยต้นยางชำถุง               
4. การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ยในช่วงแรกจะใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 25 เปอร์เซ็นต์ 25 กรัมต่อหลุม ผสมกับดินใส่รองก้นหลุม ส่วนการใส่ปุ๋ยในแปลงกิ่งตาควรใช้ปุ๋ยยางอ่อนสูตร 1 สำหรับดินเหนียว หรือสูตร 3 สำหรับดินร่วนหรืออาจใช้ปุ๋ย 15-15-6-4 หรือ 15-15-15 แทน แบ่งใส่ 4 ครั้งต่อปี ครั้งละ 36 กิโลกรัมต่อไร่ โดยวิธีหว่านรอบโคนต้น               
5. การตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายาง หลังจากปลูกจนต้นยางสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร หรือต้นมีเปลือกสีน้ำตาล หรือมีอายุประมาณ 1 ปี จะตัดกิ่งตาทั้งกระโดงไปใช้ได้เลย แต่ถ้าจะเลี้ยงเป็นกิ่งตาเขียว ให้ตัดยอดฉัตรบนสุดทิ้ง (ตัดเลี้ยงครั้งที่ 1) จากนั้นปล่อยให้แตกกิ่งแขนงออกมาบริเวณฉัตรยอดเลี้ยงไว้ 3-4 กิ่ง เมื่อฉัตรแก่แล้วก็ตัดไปใช้ได้พร้อมกันนี้ก็ทำการตัดเลี้ยงครั้งที่ 2 ในปีหนึ่ง ๆ จะตัดเลี้ยงกิ่งตาได้ 3 ครั้ง เมื่อหมดฤดูกาลติดตาแล้วจะตัดต้นล้างแปลง โดยให้เหลือกระโดง 1-2 กระโดง สูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงไว้ผลิตกิ่งตาเขียวในปีที่ 2 เมื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงได้ 3-4 ฉัตร ก็ทำเหมือนกับปีที่ 1 อีก และเมื่อเข้าปีที่ 3 ต้นกิ่งตาจะเลี้ยงกิ่งกระโดง และในปีที่ 4 เลี้ยงได้ถึง 4 กระโดง 
วิธีการติดตาเขียวการติดตาเขียวจะได้ผลสำเร็จสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่                
1. ต้นกล้ายาง ต้องสมบูรณ์แข็งแรง อายุประมาณ 4 1/2-8 เดือน ขนาดของลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร วัดที่ระดับสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร มีลำต้นตั้งตรง โคนรากไม่คดงอและลอกเปลือกได้ง่าย                
2. กิ่งตาเขียว ได้จากแปลงกิ่งตายาง ซึ่งได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นพันธุ์ยางที่ถูกต้อง กิ่งตาเขียวที่สมบูรณ์มีอายุ 42-49 วัน ลอกเปลือกง่ายไม่เปราะหรือมีเสี้ยนติดเนื้อไม้               
 3. ความชำนาญ วิธีการติดตาเขียวฝึกได้ง่ายผู้ที่มีความชำนาญแล้วจะได้รับผลสำเร็จสูงกว่าร้อยละ 90 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย โดยทั่วไปผู้ที่มีความชำนาญจะสามารถติดได้ประมาณ 300 ต้นต่อวัน                
4. ฤดูกาล ควรเป็นต้นฤดูฝนไปจนถึงกลางฤดูฝน ส่วนปลายฤดูฝนไม่ควรติดตา เพราะเมื่อตัดต้นให้ตาแตกจะเริ่มเข้าฤดูแล้ง ซึ่งจะทำให้ต้นยางตายได้ แต่หากติดตาแล้วถอนนำไปชำถุงพลาสติกก็สามารถทำได้ และในแปลงกล้ายางที่สามารถให้น้ำได้ตลอดก็จะสามารถติดตาได้ตลอดทั้งปี                
5. วัสดุอุปกรณ์                       
- กรรไกรตัดกิ่งตา                      
 - ถุงพลาสติกใส่กิ่งตา                       
- แถบพลาสติกใสขนาดกว้าง 5/8 นิ้ว หนา 0.05 มิลลิเมตร                       
- หินลับมีด                       
- เศษผ้าสำหรับเช็ดต้นยาง
วิธีปฏิบัติ      
1. เลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์ ทำความสะอาดโคนต้นกล้าด้วยเศษผ้าเช็ดสิ่งสกปรกและทรายออก      
2. เปิดรอยกรีดโดยใช้ปลายมีดกรีดตามความยาวลำต้น 2 รอย ขนาดยาว 7-8 เซนติเมตร ห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร ให้ส่วนล่างของรอยกรีดสูงจากพื้นดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร ใช้มีดตัดขวางรอยกรีดด้านบนให้เชื่อมกัน แล้วใช้ปลายมีดหรือด้ามงาบแคะเปลือกตรงมุมแล้วลอกเปลือกลงข้างล่างจนสุด ตัดเปลือกที่ดึงออกให้เหลือลิ้นสั้น ๆ ประมาณ 1-1 1/2 เซนติเมตร      
3. เตรียมแผ่นตาจากกิ่งตาเขียวโดยใช้มีดคม ค่อย ๆ เฉือนออก เริ่มจากด้านปลายไปหาโคนให้ติดเนื้อไม้บาง ๆ สม่ำเสมอตลอดแนวยาวประมาณ 8-9 เซนติเมตร ให้มีตาอยู่ตรงกลางแผ่น ความกว้างของแผ่นตาประมาณให้พอดีกับความกว้างของรอยแผลเปิดเปลือกบนต้นกล้า การเฉือนแผ่นตาหนาเกินไปจะลอกยาก เนื่องจากแผ่นตาเขียวช้ำได้ง่าย ฉะนั้นก่อนเฉือนแผ่นตาต้องแน่ใจว่ามีดคมและสะอาดพอ      
4. แต่งแผ่นตาทั้ง 2 ข้างบาง ๆ พอให้แผ่นตาเข้ากับรอยเปิดกรีดบนต้นตอได้แล้วตัดปลายด้านล่างออก      
5. ลอกแผ่นตาออกจากเนื้อไม้ โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง จับปลายด้านบนของแผ่นตาใช้นิ้วกลางประคองแผ่นตาส่วนล่างแล้วค่อย ๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตาพยายามอย่าให้ส่วนที่เป็นเปลือกโค้งงอ หรืออีกวิธีหนึ่ง การลอกด้วยปากโดยใช้มือข้างหนึ่งจับแผ่นตาไว้ แล้วหันด้านปลายแผ่นตาที่ยังไม่ตัดเข้าหาปาก ใช้ฟันยึดส่วนที่เป็นเนื้อไม้แล้วใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้ของอีกมือหนึ่งจับเปลือกด้านล่างไว้ แล้วค่อย ๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา พยายามไม่ให้เปลือกโค้งงอเช่นกัน ตรวจดูแผ่นตาที่ลอกเสร็จ ถ้าแผ่นตาซ้ำหรือจุดเยื่อเจริญหลุดหรือแหว่งไม่สมบูรณ์ให้ทิ้งไป ใช้เฉพาะแผ่นตาที่สมบูรณ์เท่านั้น     
6. รีบสอดแผ่นตาที่ลอกเนื้อไม้ออกแล้วนี้ใส่ลงในลิ้นเปลือกต้นตอเบา ๆ ขณะที่ใส่อย่าให้แผ่นตาถูกกับเนื้อไม้ เพราะจะทำให้แผ่นตาและเยื่อช้ำได้ ตัดส่วนของแผ่นตาที่เกินอยู่ข้างบนทิ้งไป หรือทิ้งไว้ตัดขณะที่พันผ้าพลาสติกก็ได้     
7. พันด้วยแผ่นพลาสติกใส ขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จากด้านล่างขึ้นข้างบนให้แผ่นตาแนบกับแผลรอยเปิดของต้นกล้า ให้ขอบพลาสติกทับกันสูงขึ้นไปเหนือรอยตัดตา 2-3 รอบ ผูกพลาสติกให้แน่นโดยสอดปลายเข้าไปในพลาสติกรอบสุดท้ายแล้วดึงให้แน่น     
8. ตรวจสอบความสำเร็จเรียบร้อยพร้อมทั้งปักป้ายแสดงวันที่ติด ชื่อพันธุ์ยางและจำนวนต้นไว้ หลังจากนั้นอีก 21 วัน ให้ตรวจดูหากแผ่นตายังเขียวอยู่ แสดงว่าการติดตาประสบผลสำเร็จ ให้ใช้มีดกรีดกลาสติกด้านตรงข้ามเพื่อให้พลาสติกหลุดออกจากแผ่นตา แต่ถ้าแผ่นตาเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล แสดงว่าติดตาไม่สำเร็จให้ใช้มีดกรดพลาสติกด้านหลังออกเพื่อทำการติดตาซ้ำหลังจากตรวจผลสำเร็จและเอาพลาสติกออกแล้ว ปล่อยให้ต้นที่ติดตาอยู่ในแปลงไม่น้อยกว่า 1 อาทิตย์ก่อนที่จะถอนไปปลูกหรือตัดต้นเดิมทิ้ง
ข้อคำนึงในการติดตา       
1. ไม่ควรติดตาในเวลาที่มีอากาศร้อนจัด       
2. การนำกิ่งตาไปติดในแต่ละครั้งไม่ควรเกินกว่า 30 กิ่ง       
3. เลือกติดตาเฉพาะต้นตอที่สมบูรณ์       
4. มีดติดตาจะต้องคมอยู่เสมอ       
5. อย่าให้แผ่นตาช้ำหรือปล่อยให้น้ำเลี้ยงแห้ง       
6. พันแผ่นตาให้แน่นอย่าให้น้ำเข้าได้  


©ข้อมูลจาก®พืชไร่เศรษฐกิจ. ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรมวิชาการเกษตร (http://www.doa.go.th)

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปลูกอ้อยและวิธีการเพิ่มผลผลิตอ้อย



                 
                พูดเรื่องมันสำปะหลังมาก็นานนมแล้ว วันนี้พักสมองเปลี่ยนมาคุยกันเรืองอ้อยบ้างดีกว่านะค่ะ ส่วนใหญ่แล้วคนที่ปลูกอ้อย ก็ มักจะสนใจปลูกมันสำปะหลังด้วย หลักการง่ายๆ โดยการสังเกตุส่วนตัวของปริมเองนะค่ะ ว่าถ้าให้เลือกระหว่างปลูกอ้อย หรือ มันสำปะหลังดี ก่อนอื่นเราต้อง มาดูที่ดินของเราก่อนว่า ถ้าเป็นดินเหนียว หรือร่วนปนดินลูกรัง แน่นอนว่าไม่ควรปลูกมันสำปะหลัง เพราะมันแทงหัวยาก ทำให้หัวเล็ก ถ้าจะปลูกจริงๆ ก็ใช้การยกร่องสูงๆๆๆ เข้ามาช่วยค่ะ แต่ถ้าเป็นดินเหนียว , ร่วนทราย , ทราย , ลูกรัง แบบนี้เอาพื่้นที่ไปปลูกอ้อยดีกว่า
 
มาดูระยะการเจริญเติบโตของอ้อยกันก่อนมีดังนี้นะค่ะ
 

1.ระยะงอก ประมาณ 2-3 สัปดาห์ 
2.ระยะแตกกอ อายุประมาณ 1.5 เดือนเป็นต้นไป มากที่สุดอยู่ระหว่าง 2.5-4 เดือน หน่อที่แตกออกมาทั้งหมดในระยะแตกกอนี้จะเหลือเพียงประมาณครึ่งหนึ่งเมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยว
3.ระยะย่างปล้อง มีการเพิ่มขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางและความยาวของปล้องอย่างรวดเร็ว อายุประมาณ 3-4 เดือน จนถึงอายุประมาณ 7-8 เดือน หลังจากนั้นการเจริญเติบโตจะมีช้าลง มีการสะสมน้ำตาลเพิ่มขึ้น
4.ระยะแก่และสุก อัตราการเจริญเติบโตช้าลงมาก เมื่อการเจริญเติบโตช้าลง การสะสมน้ำตาลจึงมีมากขึ้น 
 
(ขอขอบคุณข้อมูลจากอาจารย์  กฤชนนทร์ นะค่ะ)


เกริ่นมาซะยาว เอาละ มาว่ากันถึงวิธีการปลูกอ้อยกัน

1. ฤดูการปลูกอ้อย มีสองฤดูปลูกคือ
1.1 การปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือการปลูกในช่วงเดือน ต.ค.- ธ.ค. ข้อดีของการปลูกช่วงนี้คือ ไม่ค่อยมีหญ้า และอ้อยได้จำนวนอายุหลายเดือนก่อนตัดส่งโรงงาน แต่ข้อเสียก็คือ งอกช้า เวลาปลูกต้องหยอดน้ำไปพร้อมท่อนพันธุ์ด้วยถึงจะดี
1.2 การปลูกอ้อยฤดูฝน คือการ ปลูกอ้อยหน้า ก.พ.-พ.ค. ช่วงนี้อ้อยจะโตเร็ว งอกเร็ว แต่อ้อยจะมีอายุน้อย ผลผลิตไม่เต็มที่ เพราะต้องตัดส่งโรงงานในช่วงเปิดหีบ  ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว โรงงานจะเปิดหีบประมาณเดือน พ.ย-เม.ย. ซึ่งแล้วแต่พื้นที่ แล้วแต่โรงงานว่าจะเปิดหรือปิดช่วงไหน เราไม่สามารถกำหนดเวลาตัดเองได้

ดังนั้นปริมจึงแนะนำให้ปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะทำให้อ้อยมีอายุเลย 10 เดือนกำลังโตเต็มที่ น้ำหนักดี ให้ค่า CCS สูง

2. การเตรียมดิน
ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับการปลูกอ้อย ถ้าดูแลในขบวนการนี้ดีๆ อ้อยจะสามารถเก็บไว้ได้หลายตอ และให้ผลผลิตสูง การปลูกอ้อยถ้าละเลยขั้นตอนนี้ในปีถัดๆ ไปผลผลิตจะลดลงมากเก็บได้อย่างเก่งไม่เกิน 2 ตอ การไถต้องทำดินให้ร่วนซุยที่สุด และไถให้ลึก โดยการใช้ ริบเปอร์ ระเบิดดินดาน การไถถึงชั้นดินดานทำให้มีละอองน้ำจากชั้นดินดานระเหยมาล่อเลี้ยงรากอ้อยได้ เพราะว่ารากอ้อยจะลงลึกกว่า 50 ซม. ดูรูปเครื่องระเบิดดินดานจากรูปด้านล่างค่ะ


ความจริงมีต้วที่ยาวกว่านี้นะค่ะ สำหรับริปเปอร์ตัวนี้ ยังสั้นอยู่ ดูรูปด้านล่างประกอบอีกที แต่ไม่ค่อยชัดนะค่ะ



นึกหน้าตาของมันออกอยู่น้อ เป็นงวงยาวๆ แบบนี้ละค่ะ ใช้ไถระเบิดดินดาน ทำให้ดินกักเก็บความชื้นได้ดี ดินร่วนซุยดีด้วย

3. การปลูกอ้อยร่องคู่
แต่ก่อนเกษตรกรนิยมปลูกอ้อยแบบร่องเดี่ยว แม้แต่เครื่องจักรยังเป็นแบบร่องเดี่ยวอยู่เลย ที่แนะนำให้ปลูกคือ ปลูกแบบร่องคู่ ทำให้จำนวนประชากรของอ้อยเพิ่มขึ้น เมื่อจำนวนประชากรอ้อยเพิ่มขึ้น น้ำหนักต่อไร่ของอ้อยก็เพิ่มจำนวนได้ค่ะ ดูรูปจากรูปด้านล่างนะค่ะ

จากรูปจะเห็นได้ว่า ระยะห่างระหว่างร่องแต่ละร่อง คือ 120 ซม. แล้วระยะห่างของแถวสองแถวในร่องคือ 50 ซม. ดูจากรูปจะเข้าใจง่ายค่ะ ถ้าเวลาซื้อรถปลูก ก็จะรถปลูกแบบร่องคู่แบบนี้มาขายแล้วไม่ต้องห่วงค่ะ ^__^ ไม่ได้ลำบากอะไร

แต่ว่าขั้นตอนทีสำคัญต้องอย่าลืมรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์นะค่ะ ที่ปริมแนะนำคือ ปุ๋ยวันเดอร์สูตรสีเขียว เป็นอินทรีย์+กรดอะมิโน ทำให้อ้อยมามีความอวบเขียว แตกยอกเร็ว การใช้ก็ไร่ละกระสอบ วันเดอร์เขียวตามรูปภาพด้านล่าง

ถ้าใครไม่อยากใช้ของปริมก็ สามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ยี่ห้ออื่นได้นะค่ะ แต่การรองพื้นขอให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์เลือกที่ดีๆ หน่อยอย่าเอาถูกมากจนมีแต่ดินไม่มีอินทรีย์วัตถุเลย จะปลุกอ้อยทั้งทีอย่าขี้เหนียวปุ๋ยรองพื้นนะคะ แต่ไม่แนะให้เป็นเคมีรองพื้นนะ เพราะว่าอ้อยยังไม่งอกเลย ปุ๋ยเคมีมันละลายหมดแล้วกินได้ไม่ถึง 15 วันยังไม่ได้งอกเลยหมดฤทธิ์ซะแล้ว ถ้ามีขี้เค้ก ขี้วัว ขี้ควาย นั่นแหละค่ะของดี ใส่ลงไปเลยเป็นตันได้ยิ่งดี ขึ้นตอนนี้ห้ามละเลยถ้าอยากเก็บอ้อยไว้ได้หลายๆ ตอ อย่าขี้เหนียวนะขึ้นตอนนี้ ถ้าไม่มีตังส์ซื้อปุ๋ยจริงๆ ให้อัดปุ๋ยรองพื้นนี่แหละ ดีที่สุดค่ะ แต่ถ้าใส่ตามช่วงระยะเวลาการเจริญเติบโตของมันจะดีกว่านะค่ะ ^__^

แต่ยังก่อน ยังไม่จบ ตอนนี้มีการปลูกอ้อยแบบร่อง 4 ด้วยนะค่ะ เพิ่มจำนวนประชากรอ้อยได้มากขึ้นไปอีก แต่การปลูกร่อง 4 ปริมยังไม่แนะนำ รอดูฤดูกาลเก็บเกี่ยวปีนี้ก่อนให้รู้ว่าได้ผลผลิตกี่ตันต่อไร่ จะสู้ร่องคู่ได้ใหม ปริมเห็นลูกค้า บริษัท ขุนพลกรุ๊ป เขาปลูก เลยขออนุญาติเก็บรูปในแปลงของพี่เค้ามาโชว์ให้ดูนะค่ะ

นี่เครื่องปลูกร่อง 4 นะค่ะ

 งอกระยะแรกๆ สังเกตุเห็นใหมค่ะว่าเป็นร่อง 4 นะ 


นี่งอกได้ประมาณ 2 เดือน ดูความหนาแน่นของประชากรอ้อย

4. การจัดการะบบน้ำ 
อ้อยมีความต้องการปริมาณน้ำในแต่ละช่วงไม่เท่ากัน ระยะงอกต้องการความชื้้นที่พอเหมาะน้ำไม่ขัง ให้มีความชื้นนิดหน่อยยอดอ้อยก็สามารถแตกยอดขึ้นมาได้ แต่ในระยะ 1- 3 เดือนนี้ อ้อยต้องการน้ำในปริมาณที่มากและต้องไม่ขาดน้ำในช่วงนี้ ดังนั้นในช่วงนี้ถ้าอ้อยขาดน้ำจะชงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ที่สำคัญคนที่ปลูกอ้อยข้ามแล้งจะเจอปัญหาอ้อยขาดน้ำ ในช่วงนี้แนะนำให้ใช้วิธีการปล่อยน้ำลาด หรือให้ฉีดพ่นทางใบให้กับอ้อย ได้ทั้งน้ำได้ทั้งปุ๋ย ทำให้อ้อยโตเร็วหนี้หญ้าได้ ปุ๋ยน้ำที่ปริมแนะนำให้ใช้ในช่วงนี้คือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน + บูตเตอร์สีเงิน จะทำให้อ้อยโตเร็วต้อนรับช่วงย่างปล้องได้เร็ว และบูตเตอร์เงินจะทำให้ลำต้นของอ้อยแข็่งแรง ป้องกันโรคหนอนกอเจาะได้ รูปของปุ๋ยน้ำและบูตเตอร์ดังด้านล่าง 

อันนี้ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นทางใบนะค่ะ ในอัตราส่วน 50-100 CC ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับใครที่ไม่อยากใช้ก็ไม่ว่ากันค่ะ จะราดน้ำเฉยๆ หรือฉีดน้ำเฉยๆ ก็ได้ค่ะ แต่ให้ปุ๋ยไปด้วยจะทำให้อ้อยโตเร็วมาก เข้าสู่ช่วงย่างปล้องเร็วมาก 

5. การใส่ปุ๋ยให้ถูกช่วงเวลา 
ปุ๋ยทุกอย่างดีหมด ถ้าเรารู้จักใช้ให้ถูกกับเวลาและการเจริญเติบโตของพืช เช่นในระยะ จะเข้าสู่ช่องแตกกอ ต้องเส้นการสร้างใบ และสร้างเนื้อเยื่อ คือช่วงเวลา 2-4 เดือน สำหรับปุ๋ยเม็ด ปริมแนะนำสูตรอินทรีย์เคมี เฟอร์เฟคเอส 16-3-3 อันนี้เอาไว้สร้างใบและต้น ให้โตเร็วหนีหญ้า รูปด้านล่างค่ะ

ปุ๋ยสูตรนี้บำรุงต้น ทำให้ต้นเขียวเร็ว และถ้าเป็นอินทรีย์+เคมีจะทำให้อ้อยเขียวนานมาก มีเคมีในปริมาณที่เหมาะสมทำให้เขียวเร็ว และพอเคมีหมดฤทธิ์เม็ดอินทรีย์ก็ทำงานต่อเนื่องกันทำให้เพียงพอต่อความต้องการธาตุอาหารของอ้อย ถ้าใช้อินทรีย์อย่างเดียวในช่างนี้ปริมไม่แนะนำนะค่ะ มันช้าเกินไปสำหรับความต้องการธาตุอาหารของอ้อย ถ้าใช้เคมีก็จะหมดเร็วเกิน เคมีมีฤทธิ์อยู่ได้ไม่เกิน 15 วันก็หมดละ หรือถ้าไม่ใช้ของปริมอยากผสมปุ๋ยเองก็เอาปุ๋ยอินทรีย์ผสมกับ ยูเรีย 40 -0-0 ก็ใช้ได้ค่ะ แต่ระวังผสมให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะนะค่ะ ถ้ายูเรียมากเกินต้นจะเขียวอวบ ๆ แต่ไม่แข็งแร็งหนอกกอเข้าเจาะลำต้นได้ง่าย ถ้าอยากใช้การฉีดพ่นทางในระยะย่างปล้องแล้ว ขอแนะนำ ไอโอเอ็น จุลินทรีย์ ตรึงไนโตรเจนในอากาศ ในอากาศที่วนเวียนอยู่รอบตัวเรา มีไนโตรเจนเต็มไปหมด แต่อ้อยไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ถ้าฉีดยาไบโอเอ็นอ้อยตัวนี้ มันจะทำหน้าที่ดึงไนโตรเจนทีมีอยู่ในอากาศมาใช้ได้ในอ้อย ประโยชน์ของมันคือ 
คุณประโยชน์
1. เพิ่มการสร้าง และตรึงไนโตรเจน (Biological Nitrogen Fixation; BNF) จากอากาศ
   ให้กับต้นอ้อย
2. เพิ่มการย่อยสลาย การปลดปล่อย และการเปลี่ยนรูปธาตุอาหารในดิน
3. ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้กับอ้อย

แต่ตัวนี้มีข้อกำจัดคือ เนื่องจากมันเป็นจุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิต ห้ามใช้คู่กับพวกสารเคมี ยาฆ่าหญ้าอะไร
พวกนี้ ไม่งั้นจุลินทรีย์มันตายหมด ก็เสียดายปุ๋ย เสียดายเงินค่ะ รูปดังด้านล่างนะค่ะ 

6. อยากให้อ้อยได้น้ำหนัก
ค่าCCS ( Commercial Cane Sugar ) เพิ่มขึ้นต้องเน้นในช่วงระยะเดือนที่ 5-6 ถ้าจะใส่ปุ๋ยให้ใส่สูตรที่มีตัวหลังสูง อ้อยจะได้น้ำหนักและค่าน้ำตาลพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น ดูจากตารางเปรียบเทียบระยะการเจริญเติบโตในช่วงระยะแก่สุก ต้องหลัง 8 เดือนนะค่ะ อ้อยจะมีความหวานเพิ่มขึ้นสำหรับช่วงนี้แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เคมี เฟอร์เฟคพี สูตร 5-3-14 จะทำให้อ้อยหวานและได้น้ำหนักดูจากรูปนะค่ะ
ถ้าไม่อยากใช้ของปริมก็แนะนำให้เอาแม่ปุ๋ย 0-0-60 ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์หว่าน ในระหว่างเดือนที่ 5 หรือ 6 เข้ากลางร่องเลย ก็โอเคค่ะที่สำคัญ ใส่ปุ๋ญให้ถูกช่วงของการเจริญเติบโต ดูแลอย่าให้ขาดน้ำ แค่นี้ก็โอเคแล้วค่ะ ไม่ยากอย่างที่คิด ปลูกอ้อยทั้งทีอย่าปล่อยตามบุญตามกรรม ทุกอย่างที่เราลงมือทำมันคือต้นทุนทั้งหมด ทำแล้วต้องมีกำไรคำว่ากำไรของปริมคือ ต้นทุนที่ลงไป หัก ค่าใช้จ่ายแล้วไม่ขาดทุน ก็คือกำไร จะกำไรมาก กำไรน้อยก็แล้วแต่เราบริหารนะค่ะ 


ขอบคุณข้อมูลดีจาก  http://prim-farmkaset.blogspot.com/2011/05/blog-post_25.html