ยางพาราสามารถทำการขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ใช้วิธีการติดตาเขียว ติดตาสีน้ำตาล เป็นต้น เฉพาะการขยายด้วยเมล็ด ปัจจุบันประเทศไทยเราไม่นิยมการขยายพันธุ์กันด้วยวิธีนี้ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยไม่มีสวนเก็บเมล็ดโดยตรงประการหนึ่ง และอีกประการคือเมล็ดยางที่นำไปปลูกมีการกลายพันธุ์มาก แต่การใช้เมล็ดขยายพันธุ์ มักจะนำไปใช้เพาะต้นกล้าเพื่อใช้ทำเป็นต้นตอสำหรับติดตาต่อไป
ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา จะแบ่งออกเป็นการติดตาเขียว และการติดตาสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นิยมติดตาเขียวมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการขยายพันธุ์วิธีดังกล่าวมีวิธีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ
ส่วนการขยายพันธุ์โดยวิธีการติดตา จะแบ่งออกเป็นการติดตาเขียว
และการติดตาสีน้ำตาล แต่ส่วนใหญ่นิยมติดตาเขียวมากกว่า เพราะทำได้ง่าย สะดวก
รวดเร็ว มีเปอร์เซ็นต์การติดสูงมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งการขยายพันธุ์วิธีดังกล่าวมีวิธีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ
การสร้างแปลงกล้ายาง วัสดุที่จะใช้ปลูกทำแปลงกล้ายาง อาจใช้วัตถุปลูกได้ 3 ชนิด คือ เมล็ดสด เมล็ดงอก และต้นกล้า 2 ใบ
ในการศึกษาควรเลือกใช้วัสดุปลูกทำแปลงกล้ายางนั้น
การใช้เมล็ดสดจะดีที่สุดเนื่องจากต้นกล้ายางที่ได้โตเร็วและแข็งแรงมีระบบรากดีเป็นการประหยัดงานและเวลา
ส่วนการปลูกด้วยต้นกล้า 2 ใบ นั้นปรากฏว่าต้นกล้าจะตาย
เป็นจำนวนมาก และมากกว่าปลูกด้วยเมล็ดถึง 2 เท่า
ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน กล้ายาง 2 ใบจึงควรใช้กรณีที่หาเมล็ดไม่ได้เท่านั้น
สำหรับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการสร้างแปลงและวิธีการปลูกตลอดจนการดูแลรักษามีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การเลือกพื้นที่ ควรเลือกสภาพพื้นที่ราบ
ดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการระบายน้ำดี อยู่ใกล้แหล่งน้ำและการคมนาคมสะดวก
2. การเตรียมดิน ควรไถพลิกดิน 2 ครั้ง
หลังจากนั้นทำการไถพรวนอีก 1-2 ครั้ง
แล้วแต่ความเหมาะสมเพื่อให้พื้นที่เรียบสม่ำเสมอ
และในขณะเดียวกันควรเก็บเศษวัชพืชออกจากแปลงปลูกให้หมดในการไถพรวนครั้งสุดท้าย
ควรหว่านปุ๋ยร็อคฟอสเฟต 100 กิโลกรัม และแมกนีเซียมไลปัสโตน 40
กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่
ทั้งนี้เนื่องจากดินในประเทศไทย ถ้าปลูกกล้ายางหลาย ๆ ครั้ง ซ้ำกันในที่เดียวกัน
กล้ายางมักจะแสดงอาการขาดธาตุแมกนีเซียม
ส่วนแผ่นใบตรงกลางระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดเหลืองหรือขาว
โดยจะแสดงอาการหลังจากยางงอกแล้วประมาณ 2-3 เดือน
ฉะนั้นการใส่แมกนีเซียมไลมัสโตน จึงมีความจำเป็นมาก
โดยเฉพาะในแปลงกล่าที่เกิดอาการขาดธาตุแมกนีเซียมแล้วก่อนจะทำใหม่ต้องใส่แมกนีเซียมก่อนทุกครั้ง
3. การวางแผนผังแปลงกล้า แปลงกล้ายางแต่ละแปลงย่อยไม่ควรมีพื้นที่เกิน
1 ไร่
หากเป็นการให้น้ำแบบระบบสปริงเกลอร์ควรจัดขนาดแปลงเข้ากับระบบน้ำ
และรอบแปลงควรวางแนวขุดคูระบายน้ำ และหากเป็นพื้นที่ลาด
ควรวางแถวปลูกขวางแนวลาดชัน และควรยกร่องปลูกเป็นแถวคู่ เพื่อป้องกันน้ำชะเมล็ด
4. วิธีการปลูก มีอยู่
3 วิธีคือ การปลูกด้วยเมล็ดสด เริ่มตั้งแต่การวางแนวปลูกโดยปักไม้ชะมบไว้ที่หัวและท้ายแปลง ระยะ 30x60
เซนติเมตร เป็นแนวยาวแล้วขึงเชือกระหว่างไม้ชะมบกับหัวท้ายแปลง
ซึ่งจะเป็นแนวสำหรับเรียงเมล็ดสด จากนั้นใช้จอบลากเป็นร่องลึกประมาณ 5 เซนติเมตร
ตามแนวเชือกแล้วนำเมล็ดสดวางเรียงจำนวนเมล็ดที่เรียงขึ้นอยู่กับความงอกของเมล็ด
ถ้ามีเปอรืเซ็นต์ความงอกสูงให้เรียงเมล็ดห่างปกติในช่วงระยะ 1 เมตร จะวางเรียงประมาณ 18-24 เมล็ด
ในการเรียงให้ด้านแบนของเมล็ดคว่ำลงแล้วกลบดิน ซึ่งจะใช้เมล็ดประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูกด้วยเมล็ดงอก เริ่มตั้งแต่การเพาะเมล็ดยางในแปลงเพาะเมล็ด
โดยยกร่องกว่าง 1 เมตร 20 เซนติเมตร
ความยาวตามต้องการใช้ทรายหรือขี้เลื่อยเก่า ๆ กลบบนแปลงเพาะแล้วเกลี่ยให้เรียบ
รดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นอีก 1 อาทิตย์ก็จะงอก
เก็บเมล็ดที่งอกไปปลูกได้ทุกวัน (ส่วนเมล็ดที่งอกหลังจาก 15 วัน
คัดทิ้งหมดเพราะจะได้ต้นกล้ายางที่ไม่แข็งแรง) วิธีการปลูกโดยวางแนวปักไม้ชะมบที่หัวและท้ายแปลงที่ระยะ
30x60 เซนติเมตร แล้วขึงเชือกทำเครื่องหมายระยะต้นทุกระยะ 25
เซนติเมตร
นำเมล็ดมาปลูกโดยใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมเจาะดินให้เป็นหลุมลึกประมาณ 3 เซนติเมตร ตรงตำแหน่งหลุมปลูก แล้ววางเมล็ดงอกให้ทางด้านแบนของเมล็ดคว่ำลง
หรือทางปลายรากลงแล้วกลบดินพอมิด
การปลูกด้วยกล้ายาง
2 ใบ ขั้นตอนการปลูก โดยจัดวางแนวปักไม้ชะบบไว้ที่หัวแถวที่ระยะ 30x60 เซนติเมตร แล้วขึงเชือกซึ่งได้ทำเครื่องหมายระยะต้นไว้แล้วทุกระยะ 25
เซนติเมตร จากนั้นใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมหรือเหล็กปลายแหลมเจาะดินให้เป็นหลุมพอดีกับความยาวของราก
นำต้นกล้ายาง 2 ใบ เลือกต้นที่แข็งแรงใบแก่ และรากไม่คดงอ
ตัดรากให้เหลือประมาณ 20 เซนติเมตร
และตัดใบออกหมดเพื่อลดการคายน้ำหลังจากที่ปลูกแล้วต้องกดดินรอบโคนต้นให้แน่น
5. การกำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 กำจัดวัชพืชก่อนงอก
โดยทำการพ่นสารเคมีก่อนและหลังการปลูกโดยใช้ไลนูรอนอัตรา 250 กรัมต่อน้ำ 80 ลิตร หรือไดยูรอน อัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50 ลิตรต่อไร่
ครั้งที่ 2 หลังปลูก 6-8 สัปดาห์
ถากวัชพืชออกให้หมด พ่นตามด้วยไดยูรอนอัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50
ลิตรต่อไร่
ครั้งที่ 3 เมื่อต้นยางอายุ 4 เดือน
ถากวัชพืชออกให้หมดพ่นตามด้วยไดยูรอนอัตรา 120 กรัมต่อน้ำ 50
ลิตรต่อไร่
ครั้งที่ 4 ต้นฤดูฝนในระยะติดตา
ใช้พาราควัท อัตรา 6,000 กรัมต่อน้ำ 50-60 ลิตรต่อไร่
6. การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นกล้ายางตั้งตัวได้ควรใส่ปู่ยเป็นระยะเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงและสมบูรณ์ติดตาได้เร็ว
ปุ๋ยที่ใช้สำหรับต้นกล้ายางควรเป็นดังนี้
สำหรับดินร่วนปนทราย ใช้ปุ๋ยสูตร 3(16-8-14) สำหรับดินร่วนปนเหนียวใช้ปุ๋ยสูตร 1(18-10-6)
ระยะเวลาในการใส่โดยแบ่งใส่เป็น 4 ครั้ง
คือเมื่อยางอายุ 1 เดือน 2 เดือน 3
เดือน และก่อนติดตา 1 เดือน โดยใช้อัตรา 36
กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 15 กรัมต่อช่วงระยะ
1 เมตร ในแถวคู่ ส่วนวิธีการใส่ การใส่ใน 2 ครั้งแรกโดยวิธีหว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างประมาณ 8 เซนติเมตร
ในระหว่างแถวคู่ แล้วคราดกลบเพื่อให้ปุ๋ยคลุกเข้ากับดิน
และการใส่ในครั้งต่อไปควรใช้วิธีการหว่านให้ทั่วแปลงโดยระวังไม่ให้ถูกใบอ่อนกล้ายาง
การสร้างแปลงกิ่งตา ปัจจุบันนิยมการทำแปลงผลิตกิ่งตาเขียวมากกว่าสีน้ำตาล เพราะประหยัดต้นทุน
และทำได้สะดวกรวดเร็ว การเลี้ยงกิ่งตาสีเขียวจะใช้วิธีเลี้ยงกระโดงประมาณ 3-4
ฉัตร ตัดยอดกระโดงให้แตกกิ่งแขนงตาเขียวออกมาประมาณ 1 ฉัตร ก็สามารถตัดไปใช้ติดตาได้ ถ้ายังไม่ต้องการใช้ตาอาจจะปล่อยไว้เป็น 2
ฉัตรก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 3 ฉัตร
เพราะจะทำให้ลอกแผ่นตาได้ยาก อีกวิธีหนึ่งคือการตัดกระโดงตาเขียวและเขียวปนน้ำตาลไปใช้ได้เลย
แต่จะได้ตาน้อยจะต้องใช้เวลาเสียบกิ่งนานกว่า
ต้นกิ่งตาที่สมบูรณ์ตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป จะเลี้ยงได้ 4 กระโดง
ๆ ละ 4-5 กิ่ง และจะได้กิ่งตาเขียวต้นละ 16-20 กิ่ง สามารถเลี้ยงได้ 3 รอบต่อไป ปีหนึ่ง ๆ
จะได้กิ่งตาเขียวประมาณ 48-60 กิ่งต่อต้น
และในกิ่งตาเขียวที่ยาวประมาณ 1 ฟุต ท่อนหนึ่ง ๆ
จะได้ตาประมาณ 2-3 ตา
สำหรับวิธีกากรปฏิบัติการปลูกสร้างแปลงกิ่งตายางควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. การเลือกพื้นที่ ควรเป็นพื้นที่ราบ ดินร่วนมีความอุดมสมบูรณ์ดี
ระบายน้ำได้ดีอยู่ใกล้แหล่งน้ำและไม่มีไม้ยืนต้นอื่นปะปน
2.
การเตรียมพื้นที่ปลูก พื้นที่ปลูกจะต้องทำการไถพรวน
และใส่ปุ๋ยโดยจะปฏิบัติเช่นเดียวกับการเตรียมพื้นที่ทำแปลงเพาะกล้ายาง
จากนั้นวางผังแปลงโดยกำหนดพันธุ์ยางที่จะปลูกปริมาณของแต่ละพันธุ์โดยแบ่งแปลงกิ่งตาออกเป็นแปลงย่อย
เว้นระยะห่างให้เห็นชัดเจนเช่น ระยะปลูกในแต่ละแปลง 1x2 เมตร
ระยะห่างระหว่างแปลงควรเป็น 3 เมตร เป็นต้น
3. ระยะปลูก การปลูกสร้างแปลงกิ่งตายางเพื่อผลิตกิ่งตาเขียวใช้ระยะปลูกดังนี้1
x 2 เมตร = 800 ต้นต่อไร่ 1.25
x 1.50 เมตร = 853 ต้นต่อไร่
1.50 x 1.50 เมตร = 711 ต้นต่อไร่ 1.25
x 1.25 เมตร = 1,024 ต้นต่อไร่
ระยะปลูกที่นิยมกันมากคือ 1x2 เมตร
เพราะได้กิ่งตาที่สมบูรณ์ และสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา ส่วนระยะ 1.25x1.25
เมตร เคยนิยมกัน
ปัจจุบันเลิกไปเพราะการเลี้ยงกิ่งตาเขียวจะเบียดกันแน่นมากเมื่อกิ่งตาเขียวได้ 2
ฉัตรขึ้นไป กิ่งตาที่อยู่ด้านล่างจะลอกไม่ค่อยออก
ส่วนการผลิตกิ่งตาสีน้ำตาลหรือกิ่งกระโดงเขียวปนน้ำตาลใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร 1,600 ต้นต่อไร่
สำหรับการปลูกหลังจากปักไม้ชะมบกหนดระยะปลูกแล้วก็จะขุดหลุมข้างไม้ชะมบด้านใดด้านหนึ่ง
เมื่อปลูกจะได้ต้นยางเป็นแถวเดียวกัน ซึ่งมีวิธีการปลูกอยู่ 3 วิธีคือ ปลูกเมล็ดในหลุมแล้วติดตาในแปลง ปลูกด้วยต้นตอตายางและปลูกด้วยต้นยางชำถุง
4. การดูแลรักษา การใส่ปุ๋ยในช่วงแรกจะใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 25 เปอร์เซ็นต์ 25 กรัมต่อหลุม
ผสมกับดินใส่รองก้นหลุม ส่วนการใส่ปุ๋ยในแปลงกิ่งตาควรใช้ปุ๋ยยางอ่อนสูตร 1
สำหรับดินเหนียว หรือสูตร 3 สำหรับดินร่วนหรืออาจใช้ปุ๋ย
15-15-6-4 หรือ 15-15-15 แทน แบ่งใส่ 4
ครั้งต่อปี ครั้งละ 36 กิโลกรัมต่อไร่
โดยวิธีหว่านรอบโคนต้น
5. การตัดแต่งเพื่อเลี้ยงกิ่งตายาง หลังจากปลูกจนต้นยางสูงจากพื้นประมาณ 1
เมตร หรือต้นมีเปลือกสีน้ำตาล หรือมีอายุประมาณ 1 ปี จะตัดกิ่งตาทั้งกระโดงไปใช้ได้เลย แต่ถ้าจะเลี้ยงเป็นกิ่งตาเขียว
ให้ตัดยอดฉัตรบนสุดทิ้ง (ตัดเลี้ยงครั้งที่ 1) จากนั้นปล่อยให้แตกกิ่งแขนงออกมาบริเวณฉัตรยอดเลี้ยงไว้
3-4 กิ่ง
เมื่อฉัตรแก่แล้วก็ตัดไปใช้ได้พร้อมกันนี้ก็ทำการตัดเลี้ยงครั้งที่ 2 ในปีหนึ่ง ๆ จะตัดเลี้ยงกิ่งตาได้ 3 ครั้ง เมื่อหมดฤดูกาลติดตาแล้วจะตัดต้นล้างแปลง
โดยให้เหลือกระโดง 1-2 กระโดง สูงจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร เพื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงไว้ผลิตกิ่งตาเขียวในปีที่ 2 เมื่อเลี้ยงกิ่งกระโดงได้ 3-4 ฉัตร
ก็ทำเหมือนกับปีที่ 1 อีก และเมื่อเข้าปีที่ 3 ต้นกิ่งตาจะเลี้ยงกิ่งกระโดง และในปีที่ 4 เลี้ยงได้ถึง
4 กระโดง
วิธีการติดตาเขียวการติดตาเขียวจะได้ผลสำเร็จสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง
ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
1. ต้นกล้ายาง ต้องสมบูรณ์แข็งแรง อายุประมาณ 4 1/2-8 เดือน ขนาดของลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า
1 เซนติเมตร วัดที่ระดับสูงจากพื้นดิน 10 เซนติเมตร มีลำต้นตั้งตรง โคนรากไม่คดงอและลอกเปลือกได้ง่าย
2. กิ่งตาเขียว ได้จากแปลงกิ่งตายาง
ซึ่งได้รับการตรวจสอบแล้วว่าเป็นพันธุ์ยางที่ถูกต้อง กิ่งตาเขียวที่สมบูรณ์มีอายุ 42-49
วัน ลอกเปลือกง่ายไม่เปราะหรือมีเสี้ยนติดเนื้อไม้
3. ความชำนาญ วิธีการติดตาเขียวฝึกได้ง่ายผู้ที่มีความชำนาญแล้วจะได้รับผลสำเร็จสูงกว่าร้อยละ
90 แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ด้วย
โดยทั่วไปผู้ที่มีความชำนาญจะสามารถติดได้ประมาณ 300 ต้นต่อวัน
4. ฤดูกาล ควรเป็นต้นฤดูฝนไปจนถึงกลางฤดูฝน
ส่วนปลายฤดูฝนไม่ควรติดตา เพราะเมื่อตัดต้นให้ตาแตกจะเริ่มเข้าฤดูแล้ง
ซึ่งจะทำให้ต้นยางตายได้ แต่หากติดตาแล้วถอนนำไปชำถุงพลาสติกก็สามารถทำได้
และในแปลงกล้ายางที่สามารถให้น้ำได้ตลอดก็จะสามารถติดตาได้ตลอดทั้งปี
5. วัสดุอุปกรณ์
- กรรไกรตัดกิ่งตา
- ถุงพลาสติกใส่กิ่งตา
- แถบพลาสติกใสขนาดกว้าง
5/8 นิ้ว หนา 0.05 มิลลิเมตร
- หินลับมีด
- เศษผ้าสำหรับเช็ดต้นยาง
วิธีปฏิบัติ
1. เลือกต้นกล้าที่สมบูรณ์
ทำความสะอาดโคนต้นกล้าด้วยเศษผ้าเช็ดสิ่งสกปรกและทรายออก
2. เปิดรอยกรีดโดยใช้ปลายมีดกรีดตามความยาวลำต้น
2 รอย ขนาดยาว 7-8 เซนติเมตร
ห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร
ให้ส่วนล่างของรอยกรีดสูงจากพื้นดินประมาณ 1-2 เซนติเมตร
ใช้มีดตัดขวางรอยกรีดด้านบนให้เชื่อมกัน
แล้วใช้ปลายมีดหรือด้ามงาบแคะเปลือกตรงมุมแล้วลอกเปลือกลงข้างล่างจนสุด
ตัดเปลือกที่ดึงออกให้เหลือลิ้นสั้น ๆ ประมาณ 1-1 1/2 เซนติเมตร
3. เตรียมแผ่นตาจากกิ่งตาเขียวโดยใช้มีดคม
ค่อย ๆ เฉือนออก เริ่มจากด้านปลายไปหาโคนให้ติดเนื้อไม้บาง ๆ
สม่ำเสมอตลอดแนวยาวประมาณ 8-9 เซนติเมตร
ให้มีตาอยู่ตรงกลางแผ่น ความกว้างของแผ่นตาประมาณให้พอดีกับความกว้างของรอยแผลเปิดเปลือกบนต้นกล้า
การเฉือนแผ่นตาหนาเกินไปจะลอกยาก เนื่องจากแผ่นตาเขียวช้ำได้ง่าย
ฉะนั้นก่อนเฉือนแผ่นตาต้องแน่ใจว่ามีดคมและสะอาดพอ
4. แต่งแผ่นตาทั้ง
2 ข้างบาง ๆ
พอให้แผ่นตาเข้ากับรอยเปิดกรีดบนต้นตอได้แล้วตัดปลายด้านล่างออก
5. ลอกแผ่นตาออกจากเนื้อไม้
โดยใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือทั้ง 2 ข้าง
จับปลายด้านบนของแผ่นตาใช้นิ้วกลางประคองแผ่นตาส่วนล่างแล้วค่อย ๆ
ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตาพยายามอย่าให้ส่วนที่เป็นเปลือกโค้งงอ
หรืออีกวิธีหนึ่ง การลอกด้วยปากโดยใช้มือข้างหนึ่งจับแผ่นตาไว้
แล้วหันด้านปลายแผ่นตาที่ยังไม่ตัดเข้าหาปาก
ใช้ฟันยึดส่วนที่เป็นเนื้อไม้แล้วใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้ของอีกมือหนึ่งจับเปลือกด้านล่างไว้
แล้วค่อย ๆ ลอกเนื้อไม้ออกจากเปลือกแผ่นตา พยายามไม่ให้เปลือกโค้งงอเช่นกัน
ตรวจดูแผ่นตาที่ลอกเสร็จ ถ้าแผ่นตาซ้ำหรือจุดเยื่อเจริญหลุดหรือแหว่งไม่สมบูรณ์ให้ทิ้งไป
ใช้เฉพาะแผ่นตาที่สมบูรณ์เท่านั้น
6. รีบสอดแผ่นตาที่ลอกเนื้อไม้ออกแล้วนี้ใส่ลงในลิ้นเปลือกต้นตอเบา
ๆ ขณะที่ใส่อย่าให้แผ่นตาถูกกับเนื้อไม้ เพราะจะทำให้แผ่นตาและเยื่อช้ำได้
ตัดส่วนของแผ่นตาที่เกินอยู่ข้างบนทิ้งไป หรือทิ้งไว้ตัดขณะที่พันผ้าพลาสติกก็ได้
7. พันด้วยแผ่นพลาสติกใส
ขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
จากด้านล่างขึ้นข้างบนให้แผ่นตาแนบกับแผลรอยเปิดของต้นกล้า
ให้ขอบพลาสติกทับกันสูงขึ้นไปเหนือรอยตัดตา 2-3 รอบ
ผูกพลาสติกให้แน่นโดยสอดปลายเข้าไปในพลาสติกรอบสุดท้ายแล้วดึงให้แน่น
8. ตรวจสอบความสำเร็จเรียบร้อยพร้อมทั้งปักป้ายแสดงวันที่ติด
ชื่อพันธุ์ยางและจำนวนต้นไว้ หลังจากนั้นอีก 21 วัน
ให้ตรวจดูหากแผ่นตายังเขียวอยู่ แสดงว่าการติดตาประสบผลสำเร็จ
ให้ใช้มีดกรีดกลาสติกด้านตรงข้ามเพื่อให้พลาสติกหลุดออกจากแผ่นตา
แต่ถ้าแผ่นตาเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล
แสดงว่าติดตาไม่สำเร็จให้ใช้มีดกรดพลาสติกด้านหลังออกเพื่อทำการติดตาซ้ำหลังจากตรวจผลสำเร็จและเอาพลาสติกออกแล้ว
ปล่อยให้ต้นที่ติดตาอยู่ในแปลงไม่น้อยกว่า 1 อาทิตย์ก่อนที่จะถอนไปปลูกหรือตัดต้นเดิมทิ้ง
ข้อคำนึงในการติดตา
ข้อคำนึงในการติดตา
1. ไม่ควรติดตาในเวลาที่มีอากาศร้อนจัด
2. การนำกิ่งตาไปติดในแต่ละครั้งไม่ควรเกินกว่า
30 กิ่ง
3. เลือกติดตาเฉพาะต้นตอที่สมบูรณ์
4. มีดติดตาจะต้องคมอยู่เสมอ
5. อย่าให้แผ่นตาช้ำหรือปล่อยให้น้ำเลี้ยงแห้ง
6. พันแผ่นตาให้แน่นอย่าให้น้ำเข้าได้
©ข้อมูลจาก®พืชไร่เศรษฐกิจ.
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กรมวิชาการเกษตร (http://www.doa.go.th)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น