วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การปลูกละมุด



ปกติใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร 
ฤดูกาลปลูก ควรเริ่มปลูกตั้งแต่ฤดูฝนไปจนถึงกลางฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด 
วิธีการปลูก 
1. เตรียมหลุมขนาด 30×30× 30 เซนติเมตร โดยคลุกดินล่างกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเกลี่ยลงหลุม 
2. นำกิ่งพันธุ์ละมุดที่ได้จากการตอนหรือชำมาปลูก โดยนำต้นที่นำภาชนะปลูกออกแล้ววางลงในหลุมที่ขุดไว้ ตั้งให้ตรง กลบดินเสมอกับตุ้มของกิ่งตอน การกลบดินควรใช้ดินระเอียดกลบรากให้แน่น เพื่อให้รากจับดิน รากจะได้หาอาหารได้เร็วเสร็จ 
3. ปักหลักให้ชิดกับลำต้นให้หลักหยั่งลงไปในดินแล้วผูกกิ่งตอนให้ติดกับหลัก 2 เปลาะเพื่อกันลมโยก 
ควรทำที่บังลมให้ด้วยเพราะการทำเพิงกันแสงแดดให้ต้นละมุดตั้งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็ว 
4. รดน้ำให้ชุ่ม ถ้าดินยุบควรกลบดินเสียให้เต็มอย่างเก่า 
5.ระยะที่รากเริ่มเจริญละมุดจะแตกใบอ่อน ในระยะนี้ควรฉีดยาดีลดริน 50% หรือเซพวิน 85% โดยใช้ยาดังกล่าว 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปีบ ฉีดเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายใบและยอดอ่อนของละมุด หลังจากนั้นก็ดูแลรักษาตามปกติ 

การปลูกพื้นที่แซม 
ละมุดเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง หลังจากปลูกใช้เวลา 3 ปีกว่าจะให้ผลผลิต และปลูกห่างกันพอสมควร ทำให้เหลือพื้นที่ว่างอีกมาก ในระหว่างที่ละมุดยังไม่ติดผลเราสามารถปลูกพืชแซมระหว่างแถวเป็นการเพิ่มราย ได้ และช่วยบังลมให้แก่ต้นละมุดในช่วงปีแรกๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดจำนวนวัชพืชในสวนอีกมาก แต่ต้องเป็นช่วงที่ละมุดมีขนาดต้นที่เล็ก พืชที่ปลูกแซมระหว่างแถวละมุดควร เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น กล้วย มะละกอ พริก มะเขือ ฟักทอง หรือพืชล้มลุกที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่นั้น 
การ ปลูกกล้วยเป็นพืชแซม เมื่อกำหนดระยะปลูกของละมุดแล้ว เราต้องเตรียมหลุมเพื่อปลูกกล้วยทันที โดยมีระยะของหลุมปลูกกล้วยห่างจากโคนต้นละมุดประมาณ 1.5-2 เมตร แล้วทำการปลูกให้เร็วที่สุดก่อนที่จะทำการปลูกละมุดอย่าน้อย 1-2 เดือน เมื่อปลูกกล้วยแล้วจะต้องดูแลรักษาสวนละมุดให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีวัชพืชเกิดขึ้นก็ให้กำจัดเสีย อาจใช้จอบถาง หรือใช้ยากำจัดวัชพืชฉีดพ่น เมื่อกล้วยเจริญเติบโตขึ้น สามารถตัดใบแก่ไปคลุมโคนต้นละมุดเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดิน และเป็นปุ๋ยแก่ละมุดอีกทางหนึ่ง เมื่อละมุดมีอายุ 1 ปี กล้วยก็จะเริ่มตัดเครือได้ ต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้วให้นำมาทำปุ๋ย สำหรับหน่อกล้วยที่เกิดใกล้ต้นละมุด ให้ขุดหรือทำลายเพื่อไม่ให้ต้นกล้วยชิดต้นละมุดมากเกินไป ส่วนหน่อที่ต้องการเลี้ยงไว้ควรให้ห่างออกจากโคนต้นละมุด หลังจากปลูกกล้วยเป็นพืชแซมไปแล้วประมาณ 2 ปี ให้ขุดต้นกล้วยออกให้หมดเพื่อให้ต้นละมุดมีการเจริญเติบโตเต็มที
สำหรับการปฏิบัติต่อละมุดในช่วงระหว่างที่ปลูกพืชแซมอยู่ นอกจากจะทำการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ฉีดยาป้องกันโรคและแมลงแล้ว ในระหว่างนี้ต้นละมุดจะมีการแตกกิ่งก้านสาขา บางครั้งกิ่งล่างทึบไปต้องตัดทิ้งเสียบ้าง โดยตัดกิ่งที่อยู่เตี้ยๆ ติดกับดินออกให้หมด โดยเอากิ่งที่เอาไว้สูงจากพื้นดินประมาณ 70 เซนติเมตรเพื่อให้โคนต้นโปร่ง กิ่งข้างบนจะได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และอากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก 


การดูแลรักษา 

1.การให้น้ำ 
ต้น ละมุดที่เพิ่งปลูกใหม่ๆ จะต้องให้น้ำทุกๆวันในตอนเย็นแต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพความชุ่มชื้นของ ดินและสภาพแวดล้อมต่างๆ 
การ ให้น้ำละมุดที่ให้ผลผลิตแล้วจะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการออกดอกติดผลแต่ อย่างใด ทั้งนี้เพราะว่าละมุดถึงแม้จะทนต่อความแห้งแล้งได้ แต่ละมุดก็เป็นไม้ผลที่ต้องการน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ละมุดออกดอกและดอกกำลังบานถึงแม้จะมีฝนตกใน ปริมาณที่ไม่มากนักก็ไม่กระทบกระเทือนต่อการออกดอกติดผล และในช่วงที่ผลแก่และเริ่มจะสุก หากมีฝนตกจะทำให้ความหวานลดลงได้บ้างเล็กน้อยแต่ก็ยังจัดว่ายังหวาน เมื่อฝนเริ่มหายความหวานก็จะกลับเข้าสู่สภาพเดิม ส่วนช่วงฤดูแล้งจะได้ผลที่มีความหวานที่สุดและเนื้อจะกรอบกรอบดี แต่อย่างไรก็ตามในการบังคับน้ำหรือการอดน้ำ ควรกระทำในช่วงหน้าหนาวในระยะผลแก่ก่อนจะทำการเก็บผลประมาณ 20 วัน เพื่อเร่งให้มีความหวานมากขึ้นและเนื้อกรอบ ส่วนการให้น้ำหรือบังคับน้ำเพื่อเร่งการออกดอกจะไม่ความจำเป็น ทั้งนี้เนื่องจากละมุดมีนิสัยที่มีการติดดอกออกผลมากอยู่แล้ว ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลออกไปในแต่ละรุ่น ต้นก็จะมีการสะสมอาหารพร้อมที่จะออกดอกติดผลได้ในรุ่นต่อไป 
วิธีการให้น้ำ 
การ ให้น้ำในช่วงฤดูแล้งนั้นควรจะให้เป็นระยะๆอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง และก่อนจะหมดฤดูฝน ผู้ปลูกควรเอาหญ้าที่ได้จากการพรวนดายหญ้ามาสุมโคนต้นเพื่อเป็นการช่วยรักษา ความชุ่มชื้นของดินไว้ให้นาน และช่วยไม่ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินน้ำที่รดลงไปก็จะมีระเหยออกมานักซึ่งเป็น การช่วยประหยัดทั้งน้ำเวลาแลละแรงงานได้อีกทางหนึ่งด้วย 

2. การให้ปุ๋ย 
ใน ช่วงระยะการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของละมุดจะต้องการปุ๋ยและธาตุอาหารต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างลำต้น ใบ กิ่งก้านสาขา ดอกและผลเหมือนพืชชนิดอื่นๆ อยู่ตลออดเวลา ดังนั้นหลังจากที่เราปลุกพืชแล้ว แม้ว่าธาตุอาหารที่มีอยู่แล้วในดินอย่างเพียงพอในพื้นที่บางแห่ง แต่พอนานๆไปธาตุอาหารต่างๆ โดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก อันได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมก็จะถูกพืชนำไปใช้อยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งขาดแคลนทำให้เราต้องใส่ปุ๋ยซึ่งธาตุอาหารหลักดังกล่าวจะอยู่ในรูป ของปุ๋ยอินทรีย์หรือที่เกษตรกรรู้จักกันดีในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกต่างๆ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น 
สำหรับ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้กับต้นละมุด ในปีหนึ่งๆ ควรจะใส่ให้ 2 ครั้งร่วมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยใช้ปุ๋ยสูตรเสมอเช่น 15-15-15 หรือ 13-13-13 หรือสูตรปุ๋ยสูตรอื่น ก็ได้ที่ใกล้เคียงกันนี้ ส่วนปริมาณที่จะใส่ก็ให้ขึ้นอยู่กับสภาพดินหรือความอุดมสมบรูณ์ของต้นละมุด ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าดินดีหรือต้นละมุดอุดมสมบรูณ์ดีก็ใส่ไม่มากนัก 
วิธี การใส่มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น ทำการพรวนดินรอบๆทรงพุ่มแล้วโรยปุ๋ยลงไป จากนั้นพรวนดินกลบอีกครั้งหนึ่ง หรือจะขุดเป็นร่องรอบๆทรงพุ่มของต้นแล้วใส่ปุ๋ยลงไปในร่องเอาดินที่ขุดขึ้น มากลับทับอีกทีหนึ่งก็ได้ ส่วนปุ๋ยคอกที่ใช้ใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในปีแรกๆ ควรใส่ประมาณ 1 บุ้งกี๋และปีต่อๆไปควรใส่ 2 บุ้งกี๋ต่อต้น 
3.การกำจัดวัชพืช 
วัชพืช ต่างๆ ที่เจริญเติบโตอยู่ภายในสวนละมุดจะมีเป็นปัญหามากโดยเฉพาะวัชพืชที่ขึ้นอยู่ บริเวณโคนต้นละมุดที่ยังมีขนนาดเล็กอยู่หรืออเพิ่งปลูกใหม่ๆ เพราะวาในระยะนี้ถ้าวัชพืชงออกขึ้นมาที่โคนต้นแล้วจะทำให้ต้นละมุดได้รับน้ำ และธาตุอาหารไม่เพียงพอเป็นเหตุให้ต้นแคระแกรนได้ ทั้งนี้เนื่องจากวัชพืชจะคอยแย่งน้ำและอาหารอยู่ตลลอดเวลาดังนั้นในช่วงที่ ต้นละมุดยังเล็กอยู่หากมีวัชพืชขึ้นให้ทำการกำจัดเสียโดยการใช้จอบถากหรือ ใช้มือถอนออกเสียให้หมด วัชพืชบริเวณโคนต้นที่กำจัดออกแล้วไม่ควรนำไปทิ้งที่อื่นควรจะนำไปคลุกโคน ต้นละมุดเพื่อเป็นการรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดินบริเวณโคนต้นและเมื่อวัชพืช เน่าเปื่อยก็จะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้นละมุดอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการป้องกันพวกวัชพืชต่างๆที่เกิดขึ้นมาในรุ่นหลังๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก ส่วนวัชพืชที่เจริญอยู่ด้านนอกโคนต้นจะปล่อยทิ้งไว้ก็ได้ แต่ในทางที่ดีควรจะปลูกพืชล้มลุกชนิดอื่นๆแซมเป็นการเพิ่มรายได้และเป็นการ กำจัดวัชพืชต่างๆ 

การปลูกละมุด 
ปกติใช้ระยะปลูก 8x8 เมตร 
ฤดูกาลปลูก ควรเริ่มปลูกตั้งแต่ฤดูฝนไปจนถึงกลางฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุด 
วิธีการปลูก 
1. เตรียมหลุมขนาด 30×30× 30 เซนติเมตร โดยคลุกดินล่างกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า อัตรา 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเกลี่ยลงหลุม 
2. นำกิ่งพันธุ์ละมุดที่ได้จากการตอนหรือชำมาปลูก โดยนำต้นที่นำภาชนะปลูกออกแล้ววางลงในหลุมที่ขุดไว้ ตั้งให้ตรง กลบดินเสมอกับตุ้มของกิ่งตอน การกลบดินควรใช้ดินระเอียดกลบรากให้แน่น เพื่อให้รากจับดิน รากจะได้หาอาหารได้เร็วเสร็จ 
3. ปักหลักให้ชิดกับลำต้นให้หลักหยั่งลงไปในดินแล้วผูกกิ่งตอนให้ติดกับหลัก 2 เปลาะเพื่อกันลมโยก 
ควรทำที่บังลมให้ด้วยเพราะการทำเพิงกันแสงแดดให้ต้นละมุดตั้งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็ว 
4. รดน้ำให้ชุ่ม ถ้าดินยุบควรกลบดินเสียให้เต็มอย่างเก่า 
5.ระยะที่รากเริ่มเจริญละมุดจะแตกใบอ่อน ในระยะนี้ควรฉีดยาดีลดริน 50% หรือเซพวิน 85% โดยใช้ยาดังกล่าว 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1 ปีบ ฉีดเพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายใบและยอดอ่อนของละมุด หลังจากนั้นก็ดูแลรักษาตามปกติ 

การปลูกพื้นที่แซม 
ละมุดเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดกลาง หลังจากปลูกใช้เวลา 3 ปีกว่าจะให้ผลผลิต และปลูกห่างกันพอสมควร ทำให้เหลือพื้นที่ว่างอีกมาก ในระหว่างที่ละมุดยังไม่ติดผลเราสามารถปลูกพืชแซมระหว่างแถวเป็นการเพิ่มราย ได้ และช่วยบังลมให้แก่ต้นละมุดในช่วงปีแรกๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดจำนวนวัชพืชในสวนอีกมาก แต่ต้องเป็นช่วงที่ละมุดมีขนาดต้นที่เล็ก พืชที่ปลูกแซมระหว่างแถวละมุดควร เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตเร็วและให้ผลผลิตในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น กล้วย มะละกอ พริก มะเขือ ฟักทอง หรือพืชล้มลุกที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่นั้น 
การ ปลูกกล้วยเป็นพืชแซม เมื่อกำหนดระยะปลูกของละมุดแล้ว เราต้องเตรียมหลุมเพื่อปลูกกล้วยทันที โดยมีระยะของหลุมปลูกกล้วยห่างจากโคนต้นละมุดประมาณ 1.5-2 เมตร แล้วทำการปลูกให้เร็วที่สุดก่อนที่จะทำการปลูกละมุดอย่าน้อย 1-2 เดือน เมื่อปลูกกล้วยแล้วจะต้องดูแลรักษาสวนละมุดให้สะอาดอยู่เสมอ ถ้ามีวัชพืชเกิดขึ้นก็ให้กำจัดเสีย อาจใช้จอบถาง หรือใช้ยากำจัดวัชพืชฉีดพ่น เมื่อกล้วยเจริญเติบโตขึ้น สามารถตัดใบแก่ไปคลุมโคนต้นละมุดเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดิน และเป็นปุ๋ยแก่ละมุดอีกทางหนึ่ง เมื่อละมุดมีอายุ 1 ปี กล้วยก็จะเริ่มตัดเครือได้ ต้นกล้วยที่ตัดเครือแล้วให้นำมาทำปุ๋ย สำหรับหน่อกล้วยที่เกิดใกล้ต้นละมุด ให้ขุดหรือทำลายเพื่อไม่ให้ต้นกล้วยชิดต้นละมุดมากเกินไป ส่วนหน่อที่ต้องการเลี้ยงไว้ควรให้ห่างออกจากโคนต้นละมุด หลังจากปลูกกล้วยเป็นพืชแซมไปแล้วประมาณ 2 ปี ให้ขุดต้นกล้วยออกให้หมดเพื่อให้ต้นละมุดมีการเจริญเติบโตเต็มที
สำหรับการปฏิบัติต่อละมุดในช่วงระหว่างที่ปลูกพืชแซมอยู่ นอกจากจะทำการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ ฉีดยาป้องกันโรคและแมลงแล้ว ในระหว่างนี้ต้นละมุดจะมีการแตกกิ่งก้านสาขา บางครั้งกิ่งล่างทึบไปต้องตัดทิ้งเสียบ้าง โดยตัดกิ่งที่อยู่เตี้ยๆ ติดกับดินออกให้หมด โดยเอากิ่งที่เอาไว้สูงจากพื้นดินประมาณ 70 เซนติเมตรเพื่อให้โคนต้นโปร่ง กิ่งข้างบนจะได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และอากาศสามารถถ่ายเทได้สะดวก 


การดูแลรักษา 

1.การให้น้ำ 
ต้น ละมุดที่เพิ่งปลูกใหม่ๆ จะต้องให้น้ำทุกๆวันในตอนเย็นแต่ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับสภาพความชุ่มชื้นของ ดินและสภาพแวดล้อมต่างๆ 
การ ให้น้ำละมุดที่ให้ผลผลิตแล้วจะไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อการออกดอกติดผลแต่ อย่างใด ทั้งนี้เพราะว่าละมุดถึงแม้จะทนต่อความแห้งแล้งได้ แต่ละมุดก็เป็นไม้ผลที่ต้องการน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ละมุดออกดอกและดอกกำลังบานถึงแม้จะมีฝนตกใน ปริมาณที่ไม่มากนักก็ไม่กระทบกระเทือนต่อการออกดอกติดผล และในช่วงที่ผลแก่และเริ่มจะสุก หากมีฝนตกจะทำให้ความหวานลดลงได้บ้างเล็กน้อยแต่ก็ยังจัดว่ายังหวาน เมื่อฝนเริ่มหายความหวานก็จะกลับเข้าสู่สภาพเดิม ส่วนช่วงฤดูแล้งจะได้ผลที่มีความหวานที่สุดและเนื้อจะกรอบกรอบดี แต่อย่างไรก็ตามในการบังคับน้ำหรือการอดน้ำ ควรกระทำในช่วงหน้าหนาวในระยะผลแก่ก่อนจะทำการเก็บผลประมาณ 20 วัน เพื่อเร่งให้มีความหวานมากขึ้นและเนื้อกรอบ ส่วนการให้น้ำหรือบังคับน้ำเพื่อเร่งการออกดอกจะไม่ความจำเป็น ทั้งนี้เนื่องจากละมุดมีนิสัยที่มีการติดดอกออกผลมากอยู่แล้ว ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลออกไปในแต่ละรุ่น ต้นก็จะมีการสะสมอาหารพร้อมที่จะออกดอกติดผลได้ในรุ่นต่อไป 
วิธีการให้น้ำ 
การ ให้น้ำในช่วงฤดูแล้งนั้นควรจะให้เป็นระยะๆอย่างน้อยเดือนละ 2-3 ครั้ง และก่อนจะหมดฤดูฝน ผู้ปลูกควรเอาหญ้าที่ได้จากการพรวนดายหญ้ามาสุมโคนต้นเพื่อเป็นการช่วยรักษา ความชุ่มชื้นของดินไว้ให้นาน และช่วยไม่ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินน้ำที่รดลงไปก็จะมีระเหยออกมานักซึ่งเป็น การช่วยประหยัดทั้งน้ำเวลาแลละแรงงานได้อีกทางหนึ่งด้วย 

2. การให้ปุ๋ย 
ใน ช่วงระยะการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของละมุดจะต้องการปุ๋ยและธาตุอาหารต่างๆ เพื่อใช้ในการสร้างลำต้น ใบ กิ่งก้านสาขา ดอกและผลเหมือนพืชชนิดอื่นๆ อยู่ตลออดเวลา ดังนั้นหลังจากที่เราปลุกพืชแล้ว แม้ว่าธาตุอาหารที่มีอยู่แล้วในดินอย่างเพียงพอในพื้นที่บางแห่ง แต่พอนานๆไปธาตุอาหารต่างๆ โดยเฉพาะธาตุอาหารหลัก อันได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมก็จะถูกพืชนำไปใช้อยู่เรื่อยๆ จนกระทั่งขาดแคลนทำให้เราต้องใส่ปุ๋ยซึ่งธาตุอาหารหลักดังกล่าวจะอยู่ในรูป ของปุ๋ยอินทรีย์หรือที่เกษตรกรรู้จักกันดีในรูปของปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกต่างๆ ปุ๋ยหมัก เป็นต้น 
สำหรับ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้กับต้นละมุด ในปีหนึ่งๆ ควรจะใส่ให้ 2 ครั้งร่วมกับปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยใช้ปุ๋ยสูตรเสมอเช่น 15-15-15 หรือ 13-13-13 หรือสูตรปุ๋ยสูตรอื่น ก็ได้ที่ใกล้เคียงกันนี้ ส่วนปริมาณที่จะใส่ก็ให้ขึ้นอยู่กับสภาพดินหรือความอุดมสมบรูณ์ของต้นละมุด ว่ามีมากน้อยเพียงใด ถ้าดินดีหรือต้นละมุดอุดมสมบรูณ์ดีก็ใส่ไม่มากนัก 
วิธี การใส่มีหลายวิธีด้วยกัน เช่น ทำการพรวนดินรอบๆทรงพุ่มแล้วโรยปุ๋ยลงไป จากนั้นพรวนดินกลบอีกครั้งหนึ่ง หรือจะขุดเป็นร่องรอบๆทรงพุ่มของต้นแล้วใส่ปุ๋ยลงไปในร่องเอาดินที่ขุดขึ้น มากลับทับอีกทีหนึ่งก็ได้ ส่วนปุ๋ยคอกที่ใช้ใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมีในปีแรกๆ ควรใส่ประมาณ 1 บุ้งกี๋และปีต่อๆไปควรใส่ 2 บุ้งกี๋ต่อต้น 
3.การกำจัดวัชพืช 
วัชพืช ต่างๆ ที่เจริญเติบโตอยู่ภายในสวนละมุดจะมีเป็นปัญหามากโดยเฉพาะวัชพืชที่ขึ้นอยู่ บริเวณโคนต้นละมุดที่ยังมีขนนาดเล็กอยู่หรืออเพิ่งปลูกใหม่ๆ เพราะวาในระยะนี้ถ้าวัชพืชงออกขึ้นมาที่โคนต้นแล้วจะทำให้ต้นละมุดได้รับน้ำ และธาตุอาหารไม่เพียงพอเป็นเหตุให้ต้นแคระแกรนได้ ทั้งนี้เนื่องจากวัชพืชจะคอยแย่งน้ำและอาหารอยู่ตลลอดเวลาดังนั้นในช่วงที่ ต้นละมุดยังเล็กอยู่หากมีวัชพืชขึ้นให้ทำการกำจัดเสียโดยการใช้จอบถากหรือ ใช้มือถอนออกเสียให้หมด วัชพืชบริเวณโคนต้นที่กำจัดออกแล้วไม่ควรนำไปทิ้งที่อื่นควรจะนำไปคลุกโคน ต้นละมุดเพื่อเป็นการรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดินบริเวณโคนต้นและเมื่อวัชพืช เน่าเปื่อยก็จะกลายเป็นปุ๋ยให้ต้นละมุดอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการป้องกันพวกวัชพืชต่างๆที่เกิดขึ้นมาในรุ่นหลังๆ มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก ส่วนวัชพืชที่เจริญอยู่ด้านนอกโคนต้นจะปล่อยทิ้งไว้ก็ได้ แต่ในทางที่ดีควรจะปลูกพืชล้มลุกชนิดอื่นๆแซมเป็นการเพิ่มรายได้และเป็นการ กำจัดวัชพืชต่างๆ 




ขอบคุณเนื้อหาจาก http://writer.dek-d.com/kiree-mena/story/view.php?id=563999#ixzz1GwEXugL7

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น