วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การดูแลต้นกล้าอินทผลัม


บทเรียนที่ 3 การดูแลต้นกล้าอินทผลัม
เรียบเรียงโดย : ชาวนา?

///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////




หลังจากที่สมาชิกหลายคนได้เริ่มต้นในบทเรียนที่ 1 และ บทเรียนที่ 2 กันแล้ว ตอนนี้คงถึงเวลาที่จะต้องพูดถึงเรื่องการดูแลต้นกล้าอินทผลัมได้แล้วครับ ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป  เพราะความสำคัญของการผลิตต้นกล้าคุณภาพต้องพิถีพิถันทุกขั้นตอน ... วันนี้จึงมาแนะนำเคล็ดไม่ลับกับการดูแลต้นกล้าอินทผลัมแบบมือใหม่ทุกท่านครับ... นี่เป็นผลการทดลองจริงๆ ไม่ได้ไปลอกใครมาครับ  ทุกอย่างคือประสบการณ์ตรง แม้จะไม่มากแต่ก็ยินดีที่จะแบ่งปันถ่ายทอดให้กับสมาชิก  ยังดีกว่าผู้ที่รู้แล้วไม่แบ่งปันเลย...


ในระหว่างที่เมล็ดอินทผลัมนอนแน่นิ่งอยู่ในถุงดำ  ใช่ว่ามันจะอยู่เฉยๆ นะครับ  เพราะมันกำลังเร่งสร้างระบบราก โดยรากจะยาวมากกว่า 4 นิ้ว  จนบางครั้งต้องทะลุออกมานอกถุง เหมือนในภาพด้านบน  ก่อนที่มันจะพัฒนาเป็นลำต้นโผล่พ้นดินมาให้เราเห็น  ในช่วงนี้รากบางส่วนที่ทะลุถุงดำออกมา มีความสำคัญมากต่อการเจริญเติบโต  เพราะถ้าหากถุงดำของท่านวางไว้บนพื้นคอนกรีต รากอินทผลัมจะหากินได้อย่างไรบนพื้นแข็งๆ ใช่ไหมครับ ดังนั้นบทเรียนนี้จึงแนะนำว่า ควรวางถุงดำที่เพาะต้นกล้าอินทผลัมไว้บนพื้นดิน  เมื่อรากอินทลัมส่วนที่ทะลุถุงดำออกมาสามารถแทงลงบนพื้นดินได้โดยตรง การหาอาหารไปเลี้ยงลำต้นด้วยรากใต้ดิน ย่อมจะส่งผลให้ต้นกล้าอินทผลัมของเราเติบโตเร็วอย่างไม่คาดคิด...


หลังจากนั้นประมาณ 10 วันต้นกล้าจะค่อยๆ แทงใบแรกขึ้นมาอย่างช้าๆ ในระยะนี้ต้องระวังน้ำที่ท่วมขังในถุงมากเกินไป อาจจะเกิดจากดินในถุงแน่นเกินไป หรือรดน้ำแฉะเกินไป จนส่งผลอินทผลัมดูซีดเซียว  ไร้คลอโรฟิลด์  ยิงฟันยิ้ม


ปัญหาในภาพด้านบนนี้ลักษณะคล้ายโรคราสนิม  แต่ไม่ร้ายแรงครับ ไม่ต้องหายาอะไรมาฉีดพ่นให้มัน  รออีกประมาณ 20 วัน ใบที่สองจะเริ่มแทบขึ้นมาใหม่ คราวนี้จะได้ใบที่ไร้สนิมแน่นอน  งานนี้ไม่ต้องเปลืองค่ายารักษาโรค  ปลูกง่ายใชไ่หมล่ะครับ? ยิงฟันยิ้ม


จากหน่อสีขาวที่โผล่ขึ้นมาชมโลก ผ่านไปประมาณ 20-25 วัน หลังจากมีใบแรกแล้วก็จะเริ่มแทงใบที่ 2 ขึ้นมาให้ชื่นใจ  ในระยะ 20 วันแรกเป็นช่วงที่ต้องบำรุงเขาซะหน่อยครับ  ใครมีสูตรเด็ดอะไรงัดมาใช้ได้เลย น้ำหมักปลา  น้ำหมักต่างๆ  อย่าลืมเจือจางก่อนใช้นะครับ  เพราะน้ำหมักส่วนมากมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ  ถ้าไม่เจือจางก่อนใช้เดี๋ยวต้นอินทผลัมน้อยๆ กลับบ้านเก่าอย่างน่าเสียดายแน่ๆ เลยครับ  ท่านที่ไม่ชอบปุ๋ยเคมีก็เลือกใช้น้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก  ส่วนท่านที่คิดว่าควรให้ปุ๋ยเคมีสักเล็กน้อย ก็แนะนำว่า ควรเน้นปุ๋ยเลขหน้าระดับกลางๆ เช่น 25-5-5 หรือปุ๋ยสูตรเสมอก็ได้ครับ เช่น 15-15-15 แต่ไม่ต้องแรงจัดถึงขั้นใช้ยูเรีย (46-0-0)   คำแนะนำในบทเรียนนี้ควรใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกนะครับ


โดยปกติใบอินทผลัมที่ตั้งวางไว้กลางแดดจะมีความยาวเฉลี่ยประมาณ 8-10 นิ้ว ก่อนที่จะแทงใบที่สอง  แต่หากตั้งวางถุงเพาะชำไว้ในร่มอาจมีใบยาวกว่านี้อีกหลายนิ้ว  แต่เนื่องจากการวางถุงเพาะชำไว้ในร่มมากเกินไป อาจทำให้ต้นกล้าอ่อนแอเพราะพวกมันเร่งสร้างใบและลำต้นที่อวบไปด้วยน้ำ  เวลาออกแดดก็จะเหมือนคุณนายนะครับ เราต้องลำบากหากางร่่มให้มัน... ดังนั้นเราต้องฝึกให้มันอดทนตั้งแต่เด็กๆ ไว้เลยครับ


วัชพืชในถุงเพาะชำ ก็มีความสำคัญมาก  อย่าปล่อยปะละเลยจนให้วัชพืชโตกว่าอินทผลัม  เพราะมันจะแย่งอาหารต้นกล้าของเราได้ครับ  เมื่อเจอควรรีบถอนทิ้งทันที 


จั่งซี่มันต้องถอนนนนนนนนนนนนนนนนนนนน... ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ  ยิ้มกว้างๆ


สำหรับอินทผลัมที่มี 2 ราก สามารถเติบโตร่วมกันได้เป็นอย่างดี  อนาคตคงตอบโจทก์คุณเจได้นะครับว่า มันจะแข็งแรงทั้งคู่หรือไม่ เพราะเท่าี่ที่ดูตอนนี้ทุกอย่างโอเค  ยิงฟันยิ้ม


จบบทเรียนที่ 3 ครับ  หวังว่าทุกคนคงได้ประโยชน์ร่วมกันไม่มากก็น้อย  ความจริงคนที่เคยปลูกก่อนน่าจะถ่ายทอดประสบการณ์แก่เพื่อนสมาชิกบ้างก็ดี...อย่าเก็บไว้คนเดียวครับ เพราะที่นี่คือ "โลกสีเขียวแห่งการแบ่งปัน"



ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.kasetporpeang.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น